การวิวัฒน์ของโลจิสติกส์ สู่ยุคเศรษฐกิจแบบดิจิตอล - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • English
    • Thai

การวิวัฒน์ของโลจิสติกส์ สู่ยุคเศรษฐกิจแบบดิจิตอล

5

ขอบคุณภาพจาก www.thaimarketpress.com

Kanda บทความโดย ดร.กานดา บุญโสธรสถิตย์

หลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยี สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

 

“โลจิสติกส์” ถูกวิวัฒน์ตามยุคและสมัย

แรกเริ่มเดิมที “โลจิสติกส์” ถูกใช้สำหรับการจัดการยุทธศาสตร์สงคราม โดยมุ่งเน้นการลำเลียงยุทธปัจจัย ในยุคจักรพรรดินโปเลียน เมื่อการแข่งขันด้านการทหารยุติลง การชิงความได้เปรียบด้านการค้าถูกแทนที่ โดยเรียกยุคสมัยนี้ว่า ยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalisation) “โลจิสติกส์” จึงถูกวิวัฒน์และใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ที่ถูกพัฒนาไปสู่โลกแห่งออนไลน์ด้วยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สำหรับการขับเคลื่อนเชิงเศรษฐกิจ จนถูกขนานนามว่า “เศรษฐกิจแบบดิจิตอล (Digital Economy)”

 

“โลจิสติกส์” ถูกวิวัฒน์เพื่อสิ่งใด

ความเชื่อที่ว่า “ทฤษฎีที่เป็นอมตะ คือทฤษฎีที่เจ๋งที่สุด”

หากแต่ ทฤษฎีอมตะ ไม่มีทางเกิดขึ้นจริงกับการบริหารและจัดการ กล่าวคือ การบริหารและจัดการ ยิ่งยืดหยุ่นมากเท่าไหร่ ยิ่งดี ยิ่งปรับเปลี่ยนต่อสิ่งเร้าได้เร็วเท่าไหร่ ยิ่งดี หนึ่งในสิ่งเร้าที่มีอิทธิพลต่อการวิวัฒน์ของ “โลจิสติกส์” ก็คือ “พฤติกรรมของผู้บริโภค” ที่ผลักดันไปสู่การได้มาซึ่งความจงรักภักดีต่อสินค้าหรือบริการ (Customer Loyalty) อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของ “โลจิสติกส์” (จากบทความ “โลจิสติกส์ ในยุคเศรษฐกิจแบบดิจิตอล”, ดร.กานดา บุญโสธรสถิตย์)

 

“พฤติกรรมของผู้บริโภค” ในยุคเศรษฐกิจแบบดิจิตอล

เมื่อความสามารถในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตมากขึ้น (จากบทความ “เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายดันไทยสู่ยุคเศรษฐกิจแบบดิจิตอล”, ดร.อรพดี จูฉิม) การซื้อสินค้าหรือบริการผ่านอินเตอร์เน็ตของผู้บริโภคจึงมีมากขึ้น ด้วยมูลเหตุของความสะดวกและสบายในการจับจ่ายใช้สอย หากแต่ผู้บริโภคไม่สามารถทดลองและตรวจสอบสินค้าหรือบริการได้ การตัดสินใจซื้อหรือไม่นั้น จึงขึ้นอยู่กับ “ความน่าเชื่อถือของผู้ขาย” โดยผลสำรวจของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (2557) พบว่า “การบอกต่อจากเพื่อนสู่เพื่อน” เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการผ่านอินเตอร์เน็ต มากที่สุด

เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน “โลจิสติกส์” จำเป็นต้องถูกวิวัฒน์ เพื่อเป้าหมายสูงสุดของ Customer Loyalty อันสืบเนื่องมาจาก “พฤติกรรมของผู้บริโภค” ที่เปลี่ยนไป ในยุคเศรษฐกิจแบบดิจิตอล การบอกต่อจากเพื่อนสู่เพื่อน ได้สร้างความน่าเชื่อถือสูงสุดของผู้ขาย สู่การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ที่ส่งลูกต่อสู่การกำหนดกลยุทธ์ทางด้านโลจิสติกส์ ในลำดับต่อไป


ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาธุรกิจเทคโนโลยี
สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
โทร. 0-2470-9715-6
http://fibo.kmut.ac.th/
Facebook: FIBOKMUTT และ TEPKMUTT

Categories: News