ผู้บริหาร มจธ.- ฟีโบ้ ร่วมวางศิลาฤกษ์ และลงนาม MoU ศูนย์ปฏิบัติการดิจิทัล (DMOC) - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ไทย

ผู้บริหาร มจธ.- ฟีโบ้ ร่วมวางศิลาฤกษ์ และลงนาม MoU ศูนย์ปฏิบัติการดิจิทัล (DMOC)

 

 

 

 

 

8 มีนาคม 2565 PLANET วางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอาคารศูนย์ปฏิบัติการดิจิทัล Digital Monitoring and Operation Center (DMOC) เพื่อควบคุมจัดการโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดบนพื้นที่ 519 ไร่ ของโครงการ EEC SILICON TECH PARK ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Management of Basic Infrastructures) ชูต้นแบบเมืองอัจฉริยะดิจิทัล (Digital City Sandbox) แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้การรวมระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารจัดการหลายด้าน ประกอบด้วย Green Energy, Nextgen Telecom, Cloud Computing, AI/Analytics, IoT, Digital Twin, Big Data and GIS ให้ทำงานร่วมกันในรูปแบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital Platforms) มั่นใจระบบดิจิทัลของ Silicon Tech Park สามารถช่วยดึงดูดบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลกให้มาลงทุนตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D Centers) และศูนย์การออกแบบ (Design Centers) โดยหลังจากได้เริ่มโรดโชว์แล้ว ได้รับกระแสตอบรับดีมากจากผู้ลงทุนทั่วโลก พร้อมเตรียมเล็งขยาย Digital City ไปยังเขต EEC และหัวเมืองต่าง ๆ ทั่วประเทศไทยต่อไป

ในพิธีฯ มีนายประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แพลนเน็ต คอมมิวนิเคชั่น เอเชีย จำกัด (มหาชน) หรือ PLANET ผู้ให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลแบบครบวงจร เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ โดยได้ รับเกียรติจากท่านประธานที่ปรึกษา นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ ท่านรองประธานที่ปรึกษา นายสุชน ชาลีเครือ ท่านอธิการบดี มจธ. รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย ผู้อำนวยการ FIBO รศ.ดร.สยาม เจริญเสียง ท่านเลขาธิการ EEC ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Silicon Tech Park ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ท่านนายกเทศบาลตำบลบ้านฉาง พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และแขกผู้มีเกียรติร่วมในพิธี

ในช่วงบ่าย จัดให้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง PLANET และ FIBO ในการดำเนินงานในศูนย์ปฏิบัติการดิจิทัล Digital Monitoring and Operation Center (DMOC) ซึ่งในตัวอาคารมีพื้นที่รวม 6,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ศูนย์ DMOC และ FIBO Industrial Prototyping DEPO โดยในส่วนศูนย์ DMOC มีหน้าที่ควบคุมจัดการรวมระบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Digital Infrastructures) 7 ด้านให้อยู่ใน Platform เดียวกัน โดยใช้การผสมผสานเทคโนโลยีทางด้านดิจิทัลหลายด้านให้ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิผล อาทิ Green Energy, Nextgen Telecom, Cloud Computing, Ai/Analytic, IoT, Twin Digital, Big Data & GIS เป็นต้น

นายประพัฒน์ กล่าวว่า Digital Monitoring and Operation Center (DMOC) สำหรับควบคุมระบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของโครงการ EEC Silicon Tech Park นี้จะเป็นต้นแบบเมืองอัจฉริยะดิจิทัลแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครงสร้างดิจิทัลอันเป็นส่วนสำคัญของ Silicon Tech Park นี้ นอกจากจะมี Bandwidth สูงที่สุด (400 GB/sec) แล้ว ยังสามารถผสมผสานกับสัญญาณ 5G และ Low Orbit Sattelites: Leo/Geo ให้บริการงานด้านอุตสาหกรรมต้องการความหน่วงต่ำ (Low Latency) และ การเชื่อมต่อการอุปกรณ์ Industrial IoTs หลากหลายชนิดและจำนวนมาก จนทำให้ได้ระบบการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ลดการสูญเสียด้านพลังงาน ลดอัตราการก่อเกิดคาร์บอน ลดภาวะโลกร้อน เป็นระบบที่ได้มาตรฐานระดับโลก ISO และอื่น ๆ ที่ทำให้ประเทศไทยและภูมิภาคอยู่ระดับแกนนำด้าน BCG ที่สร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนคุณภาพมาสร้างเสริมอุตสาหกรรมในพื้นที่อีอีซี  เตรียมวางแผนเร่งขยายผลสำเร็จเมืองอัจฉริยะดิจิทัลให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งสามจังหวัดของ EEC และเมืองสำคัญต่าง ๆ ทั่วประเทศไทยและภูมิภาคต่อไป

“Digital Monitoring and Operation Center ของ PLANET ในโครงการ EEC SILICON TECH PARK นี้ จะเป็นมาตรฐานใหม่สำหรับเมืองต้นแบบที่มากกว่าเมืองอัจฉริยะ (Smart City) แต่จะเป็นพื้นที่ต้นแบบ (Sandbox) สำหรับเมืองอัจฉริยะดิจิทัล (Digital City) ที่มีระบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Digital Infrastructure) ที่เชื่อมโยงระบบต่าง ๆ เข้าด้วยกันเป็น Platform เดียวกัน โดยมีเป้าหมายในการลดโลกร้อน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น คาดว่า การก่อสร้างอาคาร Digital Monitor and Operating Center จะแล้วเสร็จในช่วงเดือนตุลาคม 2565 นี้” นายประพัฒน์กล่าว

สำหรับในส่วนของอาคาร DMOC ด้านหนึ่ง ยังเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญมาก นั่นคือ “FIBO Industrial Prototyping DEPO” โดยมีเป้าหมายทำงาน/ออกแบบพัฒนาการ ระบบต้นแบบ ด้าน Industry 4.0, Telerobotics- Telepresence, Medical Robotics, Cybernetics and Advance Artificial Intelligence and Singularity Systems ทั้งนี้เล็งผลเลิศถึงการใช้งานจริง โดยงานแรกที่จะเกิดขึ้นใน Facility นี้เป็นความร่วมมือระหว่าง FIBO และ SiaSun Shenyang, China พัฒนาระบบเครนขนาดใหญ่อัตโนมัติ รับตู้คอนเทนเนอร์ (50 Tons) ทำงานผ่านสัญญาณ 5G สำหรับกิจการท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือมาบตะพุด ระบบดังกล่าวนี้จะขยายผลเป็นเชิงพาณิชย์โดยบริษัท SiaSun ต่อไป

รศ.ดร.สยาม เจริญเสียง ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ฟีโบ้) กล่าวว่า ฟีโบ้ เป็นสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์แห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย ตลอดเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ฟีโบ้ ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติอย่างมาก ทั้งนี้เราต่างจากสถาบันวิจัยอื่นๆ ตรงที่เราเน้นการประยุกต์ใช้งานจริงของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Field Robotics) ผลงานของเราหลากหลายประจักษ์อยู่ในวารสารงานวิชาการและ social media ทั่วไป https://www.kmutt.ac.th/en/faculty/institute-of-field-robotics/ นอกจากนี้ ฟีโบ้ ได้ทำภาระหน้าที่สร้างกำลังคนด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติใน ระดับ ปริญญาตรี-โท-เอก มาอย่างต่อเนื่อง ศิษย์เก่าและเครือข่ายปัจจุบันของเรากระจายครอบคลุมไปทั่วทั้งภาครัฐ-มหาวิทยาลัยและเอกชนอุตสาหกรรม

“ผมมั่นใจความร่วมมือกับ บริษัท Planet ในครั้งนี้ จะนำไปสู่ความสำเร็จของ Silicon Tech Park, EEC และประเทศชาติอย่างแน่นอน” รศ.ดร.สยาม กล่าว

Categories: กิจกรรมฝ่ายบริการวิชาการ,กิจกรรมฟีโบ้,ข่าวและกิจกรรม,งานบริการอุตสาหกรรม