ชื่อผลงาน | โครงการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมการเปิด-ปิดบานระบายน้ำ |
Installment of Water Gate Control | |
ชื่อผู้วิจัย | รศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนา นายบัณฑูร ศรีสุวรรณ นายทศพร บุญแท้ |
นายวุฒิชัย วิศาลคุณา นายธนาวัฒน์ วุฒิชัยธนากร | |
แหล่งให้ทุน | สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) |
ปีที่เผยแพร่ผลงาน | พ.ศ.2551 |
คำสำคัญ | อุปกรณ์ควบคุมการเปิด-ปิดบานระบายน้ำ |
บทคัดย่อ
แนวพระราชดำริในการใช้แก้มลิงเพื่อแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียในคลองมหาชัย นอกเหนือจากการแก้ปัญหาน้ำท่วมตามแนวพระราชดาริมีมากว่า 10 ปี โดยคลองมหาชัยเป็นคลองเชื่อมคลองบางกอกน้อยกับจังหวัดสมุทรสาคร และมีคลองซอยเชื่อมออกทะเลอยู่มาก แต่น้ำที่ไหลมาจากคลองบางกอกน้อยมาปะทะกับน้าเค็มที่หนุนขึ้นมาทางจังหวัดสมุทรสาครทำให้น้ำไม่ไหลลงสู่ทะเล น้ำบริเวณนี้จึงเน่าเสีย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงร่างสิ่งที่เรียกว่า Thematic Map เพื่อใช้อธิบายความคิดรวบยอด (Concept) หรือหลักการ และได้กำหนดจุดที่จะทำประตูน้ำและพื้นที่แก้มลิงโดยประมาณขึ้นมา และให้นำน้ำเค็มผันมาเก็บไว้ในแก้มลิงเมื่อน้ำทะเลหนุนขึ้นสูงต่างกันโดยประมาณ 50 เซนติเมตร ดังนั้นเมื่อน้ำทะเลลดระดับลงก็จะทำหน้าที่เหมือนลูกสูบรถยนต์สูบเอาน้ำที่ไหลจากคลองบางกอกน้อยไปด้วย ทำอย่างนี้น้ำก็จะไหลเวียนและไม่เกิดการเน่าเสีย
ประตูระบายน้ำที่กรมชลประทานได้ก่อสร้างแล้วเสร็จในบริเวณพื้นที่ศึกษามี 6 แห่ง ตั้งอยู่ในคลองสายต่างๆ ประกอบด้วยคลองมหาชัย คลองหลวง คลองสหกรณ์สาย 3 คลองเจ๊ก คลองโคกขาม และคลองโคกขามเก่า ซึ่งปัจจุบันยังขาดอุปกรณ์และเครื่องมือเพื่อการบริหารบานประตูระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จึงได้ดำเนินการติดตั้ง ระบบควบคุมการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำแบบอัตโนมัติ เพื่อให้สามารถควบคุมได้จากระยะไกล หรือทำงานภายใต้เงื่อนไขได้อย่างอัตโนมัติ โดยระบบควบคุมจะรอรับคำสั่งระยะความสูงของการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำจากส่วนกลางโดยผ่านทาง modem จากนั้นระบบควบคุมทำการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำให้ได้ตามระยะความสูงที่ต้องการ แล้วส่งสัญญาณแจ้งกลับไปยังส่วนกลาง เพื่อให้ทราบถึงสถานะของการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำ