FIBO - เลิศวิลัยฯ ร่วมพัฒนา ‘MuM II’ หุ่นยนต์อัตโนมัติอเนกประสงค์ สนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ไทย
    • อังกฤษ

FIBO – เลิศวิลัยฯ ร่วมพัฒนา ‘MuM II’ หุ่นยนต์อัตโนมัติอเนกประสงค์ สนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์

สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และบริษัท เลิศวิลัยแอนด์ซันส์ จํากัด ร่วมกันพัฒนา หุ่นยนต์อัตโนมัติอเนกประสงค์ (Multi-functional Mobility: MuM II) ที่สามารถเป็นได้ทั้งหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อ หุ่นยนต์ส่งอาหารและหุ่นยนต์จ่ายยาอัตโนมัติ โดยพัฒนาขึ้นเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ มดบริรักษ์ (FACO) “นามพระราชทาน” เพื่อสนับสนุนการปฎิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลต่าง ๆ

MuM II พัฒนาโดยฝ่ายอุตสาหกรรม ร่วมกับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ของสถาบันฯ ที่ได้รับทุนสนับสนุนในโครงการสนับสนุนการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อรองรับความต้องการของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ โดย depa ถูกออกแบบและพัฒนาให้รองรับการทํางานหลากหลายหน้าที่ เพื่อเพิ่มประโยชน์ให้กับหุ่นยนต์และผู้ใช้งาน โดยสามารถปรับเปลี่ยนโมดูลด้านบนได้ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ได้แก่ โมดูลฆ่าเชื้อด้วย UV-C และการส่งอาหารและจ่ายยาอัตโนมัติ

Multi-functional Mobility: MuM II


Autonomous Mobile Robot
– รองรับการควบคุมทั้งแบบระบบส่วนกลางและแบบ Stand Alone
– มีระบบตรวจจับ สิ่งกีดขวาง และเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งเป้าหมายได้อัตโนมัติ
– รับน้ำหนักได้ถึง 150 กิโลกรัม
– ระยะเวลาขับเคลื่อน 9-10 ชั่วโมง ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง
– มีระบบ UV สำหรับฆ่าเชื้อที่พื้นห้อง

UV Disinfection Robot
– ระบบฆ่าเชื้อ 360 องศา
– ระยะเวลาทำงาน 4-5 ชั่วโมง (16-20 ห้อง) ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง

Food/Medicine Dispensing Robot
– มีจอสำหรับแสดงข้อมูลอาหารในตู้และชื่อผู้ป่วย
– ช่องจ่ายอาหารและยาอัตโนมัติ ตามชื่อ/เตียงผู้ป่วย ป้องกันความผิดพลาดในการจ่ายยา
– มีระบบส่วนกลางสำหรับบริหารจัดการการบรรจุและจ่ายยา/อาหาร
– มีแสง UV ด้านในสำหรับฆ่าเชื้อถาดลิ้นชักอาหารเพื่อลดการปนเปื้อน
– ปรับความสุขและจำนวนช่องได้ตามขนาดของภาชนะ

ชมคลิปหุ่นยนต์ MuM II คลิก

 

 

 

 

Categories: กิจกรรมฝ่ายการศึกษา,กิจกรรมฝ่ายบริการวิชาการ,กิจกรรมฟีโบ้,ข่าวและกิจกรรม