โลจิสติกส์ ในยุคดิจิตอลอีโคโนมี - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ไทย
    • อังกฤษ

โลจิสติกส์ ในยุคดิจิตอลอีโคโนมี

3

Kanda บทความโดย ดร.กานดา บุญโสธรสถิตย์

หลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยี สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

 

เมื่อกล่าวถึง “โลจิสติกส์” เกือบทุกคน (ที่ไม่ได้ร่ำเรียนในสายโลจิสติกส์) นึกถึงรถ เครื่องบิน รถไฟ และเรือ รวมไปถึงเส้นทางการคมนาคม และเกือบทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “โลจิสติกส์” คือ “การขนส่ง” ไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่นักที่เกือบทุกคนเข้าใจเช่นนั้น เพราะเมื่อสังเกตชื่อบริษัทผู้ให้บริการการขนส่งสินค้าหรือบริการ มักมีคำว่า “โลจิสติกส์” เป็นติ่งอยู่เสมอๆ

แล้ว “โลจิสติกส์” คืออะไร???

“โลจิสติกส์” คือการจัดการการไหลของสินค้าหรือบริการตั้งแต่เกิดจนตาย หรือ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การนำวัตถุดิบไปผลิตเป็นสินค้า การส่งมอบสินค้าสู่มือผู้บริโภค การบริการหลังการขาย รวมไปถึงการกำจัดซากสินค้าที่ใช้แล้ว โดยมุ่งหวังผลให้ลูกค้าพึงพอใจอย่างสูงสุด ที่ก่อให้เกิดความจงรักภักดีต่อสินค้าหรือบริการนั้นๆ หรือที่เรียกกันว่า Customer Loyalty

แล้วในยุคดิจิตอลอีโคโนมี (Digital Economy) “โลจิสติกส์” จัดการกันอย่างไร???

การได้มาซึ่ง Customer Loyalty อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการจัดการ “โลจิสติกส์” อีกทั้งยังนำผลไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (Economy) ได้อย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องใช้ตัวช่วยที่มีศักยภาพอย่างเทคโนโลยีดิจิตอล (Digital) เช่น Barcode, QR code, RFID หรือแม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือ สำหรับเก็บ ประมวลผล และแบ่งปันข้อมูลระหว่างองค์กรคู่ค้า กันแบบเรียลไทม์ โดยหมายมุ่งให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในทุกๆ กิจกรรมของโลจิสติกส์ เช่น ความแม่นยำในการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าและการวางแผนการผลิต ส่งผลให้องค์กรสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันท่วงที สินค้าไม่ขาดมือ ในขณะที่ไม่ต้องกักตุนสินค้าจนล้นมือ

เห็นแล้วใช่มั้ยว่า!!!

“โลจิสติกส์” มีนิยามที่กว้างมาก และกว้างกว่า “การขนส่ง” เป็นร้อยเป็นพันเท่า ด้วยจุดมุ่งหมายที่ยิ่งใหญ่กว่า “การขนส่ง” นั่นคือ การได้มาซึ่ง Customer Loyalty ประกอบการมีตัวช่วยดีๆ เจ๋งๆ อย่างเทคโนโลยีดิจิตอลด้วยแล้ว การจัดการ “โลจิสติกส์” ในยุคดิจิตอลอีโคโนมี จึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาธุรกิจเทคโนโลยี
สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
โทร. 0-2470-9715-6
http://fibo.kmut.ac.th/
Facebook: FIBOKMUTT และ TEPKMUTT