วิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (FRA) - Institute of Field roBOtics (FIBO)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ไทย
    • อังกฤษ

วิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (FRA)

สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นสถาบันแห่งแรกที่มีการเรียนการสอน การวิจัย และพัฒนาทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยมีประสบการณ์กว่า 20 ปี พร้อมที่จะสร้างคนที่มีความสามารถ และสร้างเทคโนโลยี ใหม่ๆ ทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ในปัจจุบันประเทศไทยมีความต้องการใช้ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเป็นอย่างมาก ทั้งในภาคอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ รวมไปถึงการนำเทคโนโลยีทางด้านหุ่นยนต์ มาประยุกต์ใช้งานในสังคมไทย รวมไปถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของประเทศไทย (พ.ศ.2551-2555) และโครงการศึกษาความต้องการบุคลากรและเทคโนโลยี ด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของประเทศไทย (พ.ศ. 2557) ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สรุปได้ว่าประเทศไทยมีความต้องการวิศวกร นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญในสาขาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติอีกเป็นจำนวนมาก เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีในการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทย

สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนามเล็งเห็นความสำคัญจึงได้เปิดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ในระดับปริญญาโทตั้งแต่ปี พ.ศ.2546  และในระดับปริญญาเอกตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

(1) หลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา:

เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม  อุตสาหกรรมศาสตร์ หรือเทียบเท่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณาจารย์ประจำหลักสูตรของสถาบัน วิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ข้อ 15 การรับเข้าศึกษา

ค่าใช้จ่าย: ค่าบำรุงการศึกษา 25,000 บาทต่อภาคการศึกษา และลงทะเบียนหน่วยกิตละ  3,000 บาท

ระยะเวลาในการศึกษา: 2 ปี (แต่ไม่เกิน 5 ปี)

เล่มหลักสูตร: หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555  หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560

(2) หลักสูตรระดับปริญญาเอก สาขาวิชาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา:

เป็นผู้สำเร็จการศึกษาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) หรือวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ สาขาวิชาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต สาขาวิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องมือวัด สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องมือและวัสดุ สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี หรือเทียบเท่า โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.0 ขึ้นไป

เป็นผู้สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) หรือวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ สาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาสถิติหรือเทียบเท่า โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.0 ขึ้นไป

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณาจารย์ประจำหลักสูตรของสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และเป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ข้อ 15 การรับเข้าศึกษา

ผู้สมัครต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษาและหัวข้อวิทยานิพนธ์ก่อนเข้าศึกษา โดยสามารถเข้ามาพูดคุยกับอาจารย์ที่สนใจก่อนสมัครเรียน เพื่อทำความรู้จัก หรือแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงในการทำวิจัย

ผู้สมัครต้องผ่านเกณฑ์พื้นฐานรายวิชาที่เกี่ยวกับ Manipulation Perception และ Cognition โดยการวัดผลจากข้อเขียน และการสอบสัมภาษณ์เข้าศึกษาต่อ

ค่าใช้จ่าย: ค่าบำรุงการศึกษา 25,000 บาทต่อภาคการศึกษา และลงทะเบียนหน่วยกิตละ  3,000 บาท

ระยะเวลาในการศึกษา: 3 ปี (ไม่เกิน 5 ปี) สำหรับแบบ 1.1 และ 1.2
5 ปี (ไม่เกิน 8 ปี) สำหรับแบบ 2.2

เล่มหลักสูตร: หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555  หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560